ชุดตรวจhiv เชื่อถือได้ไหม ตรวจHIV ด้วยตนเอง ดีไหม

ชุดตรวจhiv เชื่อถือได้ไหม การเข้ารับการตรวจเอชไอวี (HIV) ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งควรเป็นสิ่งที่ ประชาชนจะต้องสามารถเข้าถึงได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก เพราะจะช่วยทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อน้อยลงได้ เนื่องจากทุกคนจะหันมาสนใจและให้ความสำคัญ กับการตรวจเอชไอวีมากขึ้น ตรวจพบไว เข้าสู่การรักษา และลดโอกาสแพร่เชื้อ

 

ใครบ้างที่ควรจะเข้ารับการตรวจเอชไอวี?

  • ผู้ที่มีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่สามี ภรรยา หรือคนรัก โดยที่ไม่สวมใส่ถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเพศใด หรือรูปแบบใดก็ตาม
  • ผู้ที่มีการใช้สารเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • หญิงตั้งครรภ์ และทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ป่วยวัณโรค
  • ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ผู้ที่มีเหตุการณ์ที่เสี่ยงในการได้รับการติดเชื้อเอชไอวี

นอกเหนือจากนี้ใครที่มีความประสงค์ จะเข้ารับการตรวจเอชไอวี เพราะกังวลว่าตนเองอาจได้รับความเสี่ยงมาก็เป็นเรื่องที่ดีที่จะตรวจเพื่อคลายความกังวลใจ ในบางครั้งเราอาจจะมีความเสี่ยงในการที่จะติดเชื้อเอชไอวีแบบไม่รู้ตัวได้เช่นกัน

 

โดยปกติผู้ที่มาเข้ารับการตรวจเอชไอวีจะถูกตรวจด้วยชุดตรวจเอชไอวีแบบคัดกรองเบื้องต้นก่อน ซึ่งจะสามารถทราบผลได้รวดเร็วกว่า หากพบว่ามีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจริง จะดำเนินการตรวจด้วยวิธีตรวจยืนยันต่อไป แต่หากตรวจคัดกรองแล้วพบว่าไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ก็จะสิ้นสุดเพียงเท่านี้ อย่างไรก็ตามผู้ตรวจจะต้องพูดตามจริงว่าเสี่ยงมานานเท่าใดแล้ว

 

ทำความรู้จักชุดตรวจ HIV คัดกรอง

การตรวจเอชไอวีจะต้องให้เวลากับการพัฒนาของเชื้อในร่างกาย เพื่อให้สามารถตรวจพบได้ และระยะเวลาล่าสุดที่ได้รับความเสี่ยงในการติดเชื้อ จึงสัมพันธ์กับการเลือกชุดตรวจว่าจะตรวจด้วยชุดตรวจที่มีหลักการใด หากปกปิดระยะเวลาเสี่ยงที่แท้จริง อาจจะทำให้ตรวจแล้วได้ผลลบปลอม

               หลักการตรวจ

1. NAT : Nucleic Acid Test เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อHIV มีความไวมาก นิยมใช้ตรวจคัดกรองในผู้ที่มาบริจาคเลือด โดยสามารถตรวจได้หลังจากได้รับความเสี่ยงมาประมาณ 5-7 วัน

2. Anti-HIV test นิยมใช้ในการตรวจคัดกรองมากที่สุด เป็นการตรวจหาแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อเอชไอวี สามารถตรวจได้หลังจากได้รับความเสี่ยงมาประมาณ 3-4 สัปดาห์ การตรวจวิธีนี้มีอีกชื่อเรียกว่า การตรวจด้วยชุดตรวจ Gen 3

3. HIV Ag/Ab combination assay เป็นการตรวจหาทั้งแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อเอชไอวี และตรวจหาโปรตีน p24 ของเชื้อเอชไอวี ในคราวเดียวกัน สามารถตรวจได้หลังจากได้รับความเสี่ยงมาประมาณ 2 สัปดาห์ การตรวจวิธีนี้มีอีกชื่อเรียกว่า การตรวจด้วยชุดตรวจ Gen 4

                การแปลผล

– ผลลบ (Non-Reactive, negative) : แสดงว่าไม่พบความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี

– ผลบวก (Reactive, Positive) :  แสดงว่าพบความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี

การตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเอง สามารถทราบผลได้อย่างรวดเร็ว  อย่างไรก็ตามจะแปลผลได้ตามที่กล่าวมา ก็ต่อเมื่อระยะเวลาเสี่ยงของท่านนั้นถูกต้อง หรือเหมาะสมกับชุดตรวจที่เลือกใช้

 

ชุดตรวจHIV ด้วยตนเอง เชื่อถือได้ไหม?

ชุดตรวจhiv เชื่อถือได้ไหม จะขึ้นอยู่กับ  3 ข้อนี้ คือ

  1. ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองที่ท่านเลือกนั้น ผ่านมาตรฐานของอย. ไทย หรือไม่ โดยสามารถนำเลขอย.ไทย ของชุดตรวจเอชไอวีนั้น ไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของอย.ไทยได้เลย พิจารณาว่าถูกต้องหรือไม่

สาเหตุที่ต้องเลือกชุดตรวจที่ผ่านมาตรฐานของอย. ไทย ก็เพราะว่าเป็นชุดตรวจที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย และใช้ในไทย เท่ากับว่าเป็นชุดตรวจที่มีคุณภาพ สถานพยาบาลต่าง ๆ เลือกใช้ ดังนั้นเท่ากับว่าท่านได้ใช้ชุดตรวจ HIV ที่เป็นมาตรฐานเดียวกับโรงพยาบาลนั่นเอง หากใช้ชุดตรวจที่มีราคาถูก ไม่สามารถตรวจสอบได้ ก็เท่ากับว่าผลตรวจของท่านไม่น่าเชื่อถือนั่นเอง

  1. ระยะเวลาความเสี่ยงที่ได้รับ ท่านจะต้องไม่รีบร้อนเกินไปในการตรวจ เพราะจะทำให้ผลตรวจนั้นเป็นผลลบปลอมได้

ผลลบปลอม คือ ไม่พบความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่ใช่ความจริง เป็นผลปลอม ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการตรวจหาเชื้อเอชไอวี ในระยะเวลาเสี่ยงที่เร็วเกินไป ทำให้เข้าใจผิดว่าตนเองไม่ได้ติดเชื้อ มีโอกาสเสี่ยงในการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นต่อไป

  1. เลือกชุดตรวจเอชไอวีที่มีหลักการตรวจ ที่เหมาะสมกับระยะเวลาเสี่ยง

เช่น หากคุณมีความประสงค์ที่จะตรวจเอชไอวีในตอนนี้ และพบว่าระยะเวลาเสี่ยง คือ 16 วัน คุณควรจะเลือกตรวจด้วยชุดตรวจ Gen 4 หรือคุณไม่ได้รีบร้อน สามารถรอได้อีก 5-7 วัน  คุณก็สามารถเลือกตรวจด้วยชุดตรวจ Gen 3 ได้  แต่ถ้าคุณมีความเสี่ยงมามากกว่า 3 สัปดาห์แล้ว ไม่ว่าจะเลือกตรวจด้วยชุดตรวจ Gen 3 หรือ 4 ก็มีความแม่นยำเช่นกัน

หากท่านเข้าใจและทำตาม 3 ข้อที่กล่าวมาได้ การตรวจเอชไอวีด้วยตนเองไม่ว่าในหลักการตรวจใด ก็จะให้ความแม่นยำ ความถูกต้อง และน่าเชื่อถือ

 

คำแนะนำเพิ่มเติม คือ เมื่อตรวจครั้งแรกและพบว่าไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ให้ตรวจอีกครั้งที่หลัง 3 เดือน เพื่อติดตามผล แต่สำหรับใครที่คิดว่าตนเองได้รับความเสี่ยงบ่อย ๆ การตรวจเช็คทุก ๆ เดือน หรือทุก 3 เดือน ก็จะช่วยให้ท่านสามารถสบายใจได้