ชุดตรวจ hiv ในปัจจุบันเป็นอย่างไร มีการพัฒนาอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาบ้าง ทุกวันนี้ตรวจหาเชื้อด้วยหลักการอะไร การปลดล็อกชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองขององค์การอาหารและยา มีจริงไหม วันนี้เราไปทำความรู้จักกันเลยดีกว่าว่า ชุดตรวจ hiv เป็นอย่างไรกัน
การตรวจเอชไอวีควรพิจารณาถึงระยะฟักตัวของเชื้อเอชไอวี ระยะนี้เรียกว่า ระยะ Window period โดยทั่วไประยะฟักตัวของเชื้อจะอยู่ที่ประมาณ 21 วัน แนะนำว่าหากผลลบไม่พบเชื้อ ให้ตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 60-90 วัน และหากผลเป็นบวก ให้ตรวจยืนยันผลด้วยวิธีที่สามารถยืนยันได้
ชุดตรวจเอชไอวีในปัจจุบันมีกี่แบบ ตรวจด้วยหลักการใด
การตรวจเอชไอวีในปัจจุบัน มีทั้งการตรวจโดยเก็บตัวอย่างจาก ปัสสาวะ น้ำลาย ซีรั่ม พลาสมา และเลือดจากปลายนิ้ว ซึ่งปัจจุบันนิยมตรวจจากเลือด ซีรั่ม และพลาสมา มากที่สุด
1. การตรวจเอชไอวีโดยการตรวจหาแอนติเจนของเชื้อเอชไอวี หรือ p24 antigen testing หลักการตรวจ คือ ใช้หลักการตรวจหาโปรตีนของเชื้อเอชไอวีที่เรียกว่า p24 สามารถตรวจได้ประมาณ 2 สัปดาห์หลังได้รับความเสี่ยง วิธีนี้อาจมีความอ่อนไหวมากต่อปัจจัยรอบข้าง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดผลตรวจปลอมได้ ไม่ว่าจะเป็นผลบวกปลอม ผลลบปลอม
2. การตรวจหาภูมิต้านทานของโรคที่มีต่อเชื้อเอชไอวี หรือที่เรียกว่าการตรวจหาแอนติบอดีที่มีต่อเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV test) สามารถตรวจได้เมื่อได้รับความเสี่ยงมาแล้วอย่างน้อย 21 วัน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
2.1 ELISA คือ การตรวจแบบตรวจคัดกรอง (screening test) เบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เพราะเป็นวิธีการตรวจที่ทำได้ง่าย มีราคาที่ไม่แพง มีความไวมาก และมีความแม่นยำมากกว่า 99% ซึ่งหากผลเป็นลบและตรวจในช่วงที่พ้นระยะฟักตัวของเชื้อมาแล้วก็สามารถเชื่อถือได้ และสบายใจได้ ตรวจย้ำ 2 รอบ ในระยะเวลา แต่ถ้าหากตรวจออกมาพบว่าเป็นบวก ต้องบอกว่าวิธีนี้เป็นการตรวจ “คัดกรอง” เท่านั้น แต่มีความแม่นยำสูงมากสามารถเชื่อถือผลได้ แต่ทั้งนี้หากผลเป็นบวกจะต้องตรวจยืนยันด้วยวิธีอื่นอีกครั้ง
โอกาสในการเกิดผลลบปลอม มีน้อยมากๆ ซึ่งเกิดจากการตรวจจับผิดพลาดไปตรวจจับแอนติบอดีต่อกล้ามเนื้อเรียบ ต่อไมโตคอนเดรียในเซลล์ของร่างกาย ต่อแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสชนิดอื่นที่มีความคล้ายๆ กันกับเชื้อเอชไอวี ฯลฯ
โอกาสในการเกิดผลลบปลอม มีน้อยมากๆ มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ใจร้อนเกินไป เพิ่งได้รับความเสี่ยง หรือพึ่งได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ก็ดันไปรีบตรวจก่อน ทั้งๆ ที่ยังไม่พ้นระยะฟักตัวของเชื้อ ซึ่งแน่นอนว่าร่างกายยังมีแอนติบอดีต่อเชื้อน้อย เกินความสามารถในการตรวจคัดกรองได้ แนะนำว่าตรวจที่ 30 วัน หลังเสี่ยง และตรวจอีกครั้งที่ 60-90 วัน หลังเสี่ยง
2.2 Western blot assay วิธีนี้คือการตรวจยืนยัน (Confirmatory test) ผลเลือด เรียกได้ว่าสามารถยืนยันความน่าเชื่อถือได้ มีความไว และความแม่นยำสูง แต่มีราคาแพงกว่า ใช้เวลามากกว่า ทำยากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีโอกาสเกิดผลบวกปลอม แต่น้อยมากๆ น้อยจริงๆ
2.3 Indirect immunofluorescent assay (IFA): เป็นการตรวจหาแอนติบอดี มีความไวและความแม่นยำเท่าๆ กัน กับ Western blot
3. Nucleic Acid Amplification Testing (NAT) เราอาจจะรู้จักกันในชื่อว่าการตรวจแนท เป็นนวัตรกรรมใหม่ล่าสุดในการตรวจเอชไอวี สามารถตรวจได้ เร็วขึ้น ปลอดภัย และแม่นยำ สามารถตรวจได้หลังเสี่ยงมา 1 สัปดาห์ การตรวจแนทถูกพัฒนาขึ้นมาจากกากรตรวจหาแอนติบอดีของเชื้อ ซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาที่สามารถตรวจได้ ให้ตรวจได้ไวขึ้นกว่าแต่เดิม แต่วิธีนี้ยังใช้กันไม่แพร่หลาย
4. การตรวจแบบหาแอนติบอดีและแอนติเจนในคราวเดียวกัน สามารถตรวจได้หลังเสี่ยงมาอย่างน้อย 14 วัน การตรวจด้วยวิธินี้หากตรวจพบเพียงแอนติเจนของเชื้อเอชไอวี จะต้องตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ จึงจะมั่นใจได้
เมื่อไม่นานมานี้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ปลดล็อกชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา แต่อาจจะไม่ได้มีขายกันอย่างแพร่หลาย เมื่อเทียบกับในอินเทอร์เน็ต ซึ่งต้องพิจารณาให้ดีๆ ว่าเป็นชุดตรวจเถื่อนหรือไม่ สั่งซื้อจากแอพพลิเคชั่นออนไลน์ ส่งตรงจากต่างประเทศ ไม่ได้ผ่านการรับรองจากทางไทย ไม่มีการทดสอบประสิทธิภาพโดยหน่วยงานในไทยที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้ผู้ที่มีความสนใจจะสั่งซื้อชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ให้ขอดูเลข อย.ไทย ของชุดตรวจนั้นก่อน โดยจะเป็นรหัสเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายได้
ชุดตรวจHIV แบบตรวจคัดกรองในปัจจุบันที่เป็นที่นิยมมาก คือ ชุดตรวจหาแอนติบอดีของเชื้อเอชไอวี เพราะมีความแม่นยำมาก อีกหนึ่งวิธีที่พึ่งจะมีมาไม่นานการตรวจแบบหาแอนติบอดีและแอนติเจนในคราวเดียวกัน ชุดตรวจนี้จะตรวจได้ไวกว่า แต่อย่างไรก็ตามมีความอ่อนไหวมาก หากตรวจพบเพียงแอนติเจน ก็จำเป็นจะต้องตรวจอีกครั้งที่ 21 วันหลังเสี่ยง เพื่อตรวจหาแอนติบอดีของเชื้อ
ผู้ตรวจควรพิจารณาให้ดีเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองแต่ละแบบรวมถึงพิจารณาถึงความคุ้มค่า จะรอเวลาอีกนิด เพื่อตรวจเพียงครั้งเดียวด้วยชุดตรวจหาแอนติบอดีที่มีต่อเชื้อ หรือสามารถเสียเงินตรวจอีกครั้งได้หากตรวจเพียงแอนติเจนเพียงอย่างเดียวในชุดตรวจหาแอนติบอดีและแอนติเจนในคราวเดียวกัน